จำหน่ายโฟลว์มิเตอร์จำหน่าย flowmeterรับสอบเทียบจำหน่ายเครื่องมือวัดการไหล

  

  ความรู้ทั่วไป

1. หลักการทำงานของเครื่องมือวัดการไหล (โฟลว์มิเตอร์ Flow Meter)

Flow Meter มีหลายรูปแบบ แต่ละวิธีก็มีหลักการแตกต่างกันไป ดังนี้ 

1. การวัดอัตราการไหลแบบปริมาตร (volumetric flow rate) มีหน่วยเป็น m3/s (ลูกบาศเมตรต่อวินาที) ตามระบบ SI โดยใช้สัญลักษณ์แทนด้วย Q เป็นการหาความเร็วแล้วคำนวณออกมาเป็นอัตราการไหล สามารถคำนวณได้จากสมการนี้ Q=VA โดยที่

Q = อัตราการไหลของปริมาตร   v = ความเร็วของการไหล   A = พื้นที่หน้าตัดที่ของไหลวิ่งผ่าน 

2. การวัดอัตราการไหลของมวล (mass flow rate) มีหน่วยเป็น kg/s (กิโลกรัมต่อวินาที) ตามระบบ SI โดยใช้สัญลักษณ์แทนด้วย ṁ (m-dot) 


2. ส่วนประกอบของเครื่องมือวัดการไหล (โฟลว์มิเตอร์ Flow Meter) ประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ

Flow Sensor เป็นเซนเซอร์ที่นำค่าอัตราการไหลของของไหลให้มาอยู่ในรปแบบของสัญญาณไฟฟ้าหรือการเคลื่อนที่ทางกล แล้วส่งสัญญาณเหล่านี้ Flow Indicator 

Flow Indicator เป็นอุปกรณ์หรือส่วนประกอบที่จะทำหน้าที่ในการนำสัญญาณที่ได้จาก Flow Sensor มาแสดงผล 


3. การเลือกใช้เลือกใช้เครื่องวัดการไหล (โฟลว์มิเตอร์ Flow Meter) ตามประเภทของของเหลว

1. น้ำ - เคมีใส: ควรใช้ Turbine Flow Meter (เทอร์ไบน์ โฟลว์มิเตอร์), Paddle Wheel Flow Meter (เพดเดิ้ลเวล โฟลว์มิเตอร์), Ultrasonic Flow Meter (อัลตร้าโซนิค โฟลว์มิเตอร์)

2. น้ำ- น้ำเสีย - ของเหลวที่นำไฟฟ้า: ควรใช้ Electro Magnetic Flow Meter (อีเล็คโทร แมคเนติค โฟลว์มิเตอร์)

3. น้ำ - น้ำมัน - เคมี - น้ำทะเล - แอลกอฮอล์ - และของเหลวอื่นๆที่มีสารปนเปื้อนน้อย: ควรใช้ Ultrasonic Flow Meter (อัลตร้าโซนิค โฟลว์มิเตอร์)

4. ลม - แก๊ส - อากาศ - ไอน้ำ: ควรใช้ Vortex Flow Meter (วอร์เท็กซ์ โฟลว์มิเตอร์)

5น้ำมันพืช - น้ำมันเตา - น้ำมันเครื่อง -ของเหลวที่มีความหนืดสูง: ควรใช้ Oval Gear Flow Meter (โอวัลเกียร์ โฟลว์มิเตอร์) , Ultrasonic Flow Meter (อัลตร้าโซนิค โฟลว์มิเตอร์)

6แก๊สธรรมชาติ เช่น LPG, NGV, CNG : Coriolis Mass Flow Meter (โคริโอริส โฟลว์มิเตอร์), Thermal Mass Flow Meter (เทอร์มอลแมส โฟลว์มิเตอร์), Turbine Gas Flow Meter (เทอร์ไบน์ แก๊ส โฟลว์มิเตอร์), Roots Gas Flow Meter (รู้ทแก๊ส โฟลว์มิเตอร์) , Vortex Flow Meter (วอร์เท็กซ์ โฟลว์มิเตอร์), Ultrasonic Gas Flow Meter (อัลตร้าโซนิค แก๊ส โฟลว์มิเตอร์)


4. ข้อควรระวังในการติดตั้งเครื่องมือวัดการไหล (โฟลว์มิเตอร์ Flow Meter)

1. ควรติดตั้ง Flow Meter จุดที่มีน้ำเต็มท่อ มิฉะนั้นค่าที่วัดได้อาจผิดหรือเพี้ยน

2. ควรติดตั้ง Flow Meter ในท่อที่ที่มีทิศทางของน้ำพุ่งขึ้น

3. หลีกเลี่ยงการติดตั้ง Flow Meter ในท่อที่มีฟองอากาศ

4. หากติดตั้ง Flow Meter หลังวาล์ว ปั๊มน้ำ หรือ มอเตอร์อื่นๆ ควรมีระยะการก่อนเข้า Flow Meter และหลังออกจาก Flow Meter ควรติดตั้งตามคู่มือเป็นสำคัญ

5. หากติดตั้ง Flow Meter ในท่อที่ขยายหรือลดควรมีระยะก่อนเข้า Flow Meter และหลังออกจาก Flow Meter ควรติดตั้งตามคู่มือเป็นสำคัญ

6. หากติดตั้ง Flow Meter ในท่องอ 90 องศาควรมีระยะก่อนเข้า Flow Meter และหลังออกจาก Flow Meter ควรติดตั้งตามคู่มือเป็นสำคัญ


5. ข้อดีของการติดตั้งเครื่องมือวัดการไหล ชนิด Ulrasonic Flow Meter (อัลตร้าโซนิค โฟลว์มิเตอร์)

1.ติดตั้งง่าย 

2.ไม่ต้องตัดต่อหรือเจาะท่อ 

3.หัวเซนเซอร์ไม่สัมผัสกับน้ำ เนื่องจากน้ำที่เราใช้งานเป็นน้ำเสียถึงแม้จะผ่านการบำบัดมาแล้วในเบื้องต้นน้ำก็ยังคงมีความสกปรกอยู่ 

4.เหมาะกับน้ำหลายประเภท เช่น น้ำประปา น้ำทะเล เคมี น้ำมัน แอลกอฮอล์ เป็นต้น 

5.ไม่ต้องถอดเครื่องมือมาทำความสะอาด

6.สามารถย้ายจุดติดตั้งได้ หากในอนาคตมีการปรับปรุงท่อหรือย้ายจุดติดตั้ง

7.เซนเซอร์สามารถใช้กับท่อน้ำได้หลายขนาด ตั้งแต่ 1" - 200"  และหลายประเภท เช่น เหล็กพีวีซีสแตนเลส, พีอี เป็นต้น

8.บำรุงรักษาง่าย 

9.สามารถแยกเปลี่ยนซ่อมได้ เนื่องจากเซนเซอร์และหน้าจอแสดงผลแยกจากกัน 


6. การสอบเทียบเครื่องมือวัด (Calibration)

การสอบเทียบเครื่องมือวัด (Calibration) เป็นการตรวจสอบสภาพการทำงานและความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์ เพื่อให้เครื่องมือที่ผ่านการสอบเทียบกลับสู่การใช้งานที่เป็นมาตรฐาน

การสอบเทียบเครื่องมือวัดและการปรับตั้งค่า (Calibration & Adjustment)

หากมีการสอบเทียบเครื่องมือวัดอย่างเดียวโดยไม่มีการปรับตั้ง (Adjustment) หรือ ปรับค่าแก้ (Correction) ให้กับเครื่องมือวัดนั้นมันอาจจะส่งผลให้เครื่องมือวัดที่ใช้งานอยู่ จะมีค่าความผิดพลาดมากกว่าค่าความผิดพลาดที่ยอมรับได้

รวมไปถึงทำให้ค่าความแน่นยำ (Accuracy) ของเครื่องมือวัดนั้นไม่อยู่ในขีดจำกัดของความแน่นยำ (Accuracy Limit) และถ้าไม่มีการปรับตั้งหรือปรับค่าแก้ให้กับเครื่องมือวัดหลายๆปีอาจส่งผลให้เครื่องมือวัดไม่สามารถปรับตั้งหรือปรับค่าแก้ให้กับเครื่องมือวัดนั้นได้เลย

การปรับตั้ง (Adjustment) หรือการปรับค่าแก้ (Correction) ให้กับเครื่องมือวัดอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้เครื่องมือวัดแม่นยำขึ้นและทำให้เครื่องมือวัดอยู่ในขีดจำกัดของความแม่นยำ (Accuracy Limit) และอายุการใช้งานของเครื่องมือวัดยาวนานขึ้น

เมื่อใดต้องสอบเทียบ 

การสอบเทียบเป็นกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และเป็นกระบวนการหนึ่งในระบบมาตรวิทยา (metrology) เครื่องมือถูกนำไปใช้งานระยะหนึ่ง อายุของส่วนประกอบและเครื่องมือวัดที่ใช้งาน อาจมีการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจาก อุณหภูมิ,ไฟฟ้า, เคมี, การเสื่อมสภาพของเครื่องมือวัด, การใช้งานและการเก็บรักษา ฉะนั้น เมื่อเครื่องมือวัดอยู่ในสภาวะดังกล่าว สิ่งที่ตามมาคือเครื่องมือวัดที่เคยบอกค่าการวัดที่ถูกต้องอาจบอกค่าที่คลาดเคลื่อนไปจากเดิม ส่งผลให้ผลการวัดที่ได้รับไม่น่าเชื่อถือหรือหากนำเครื่องมือดังกล่าวไปใช้งานย่อมส่งผลกระทบต่อคุณภาพของการออกแบบและกระบวนการผลิต ดังนั้นหากพบว่าการอ่านของเครื่องมือวัดอ่านค่าผิดไปจากเดิมเป็นสำคัญก็แสดงว่าเครื่องวัดนั้นต้องดำเนินการสอบเทียบ ทั้งนี้ทั้งนั้นควรทำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อความแม่นยำของเครื่อง


7. หลักการทำงานของ Electro Magnetic Flow Meter (อีเล็คโทร แมคเนติค โฟลว์มิเตอร์)

เครื่องวัดการไหลแบบ Electro Magnetic Flow Meter เป็นมาตรวัดอัตราการไหลที่อาศัยหลักของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าตามทฤษฎีหรือหลักของ ฟาราเดย์ (Faraday’s Law) โดยเมื่อมีตัวนำตัดผ่านสนามแม่เหล็ก จะเกิดแรงดันเหนี่ยวนำขึ้นบนตัวนำ นิยมใช้กับน้ำประปา น้ำดิบ น้ำเสีย น้ำที่มีสิ่งสกปรกเจือปน


8. หลักการทำงานของ Vortex Flow Meter (วอร์เท็กซ์ โฟลว์มิเตอร์)

เครื่องวัดการไหลแบบ Vortex Flow Meter ใช้หลักการการความถี่การสั่นสะเทือนของของไหลผ่านแกนกลางเกิดการสร้างกระแสไหลวนขึ้น  กระแสน้ำวนเกิดขึ้นสลับกันทั้งสองฝั่ง ด้วยทิศทาการหมุนตรงกันข้าม ความถี่ของกระแสน้ำเป็นตัวแปลของความเร็วของน้ำที่ไหลผ่าน จำนวนหรือปริมาณน้ำที่ไหลผ่านวัดได้โดยหัวเซนเซอร์  คำนวนความเร็วของน้ำที่ไหลผ่านโดยรวมกับเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อ จะได้ปริมาณน้ำออกมา ใช้ได้กับของไหลหลายชนิด เช่น น้ำ แก๊ส อากาศ ไอน้ำ 




 

 
เว็บสำเร็จรูป
×